TH I EN
ประวัติสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

 ประวัติสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 

     พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย ด้วยคนไทยส่วนใหญ่ได้เคารพนับถือพระพุทธศาสนาเป็นสรณะแห่งชีวิต สืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน นับแต่โบราณกาลจวบจนปัจจุบันที่ชาติไทยเรามีความมั่นคง ดำรงเอกราช มีอธิปไตยเป็นอิสระเสร ีอยู่ได้ตราบเท่าทุกวันนี้ ก็ด้วยคนในชาติยึดมั่นอยู่ในสามัคคีตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีอันดีงาม ซึ่งเป็นปัจจัยเสริมสร้างสามัคคีธรรมระหว่งคนในชาติ ส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากพระพุทธศาสนา ดังนั้น หลักธรรมคำสั่งสอนทางศาสนาจึงมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาและความมั่นคงของประเทศชาติ

     การบริหารกิจการพระศาสนานั้น เป็นหน้าที่ของคณะสงฆ์ตามพุทธบัญญัติ แต่เนื่องจากอาณาจักรและศาสนจักร ต้องประสานกัน เพื่อความมั่นคงของประเทศชาติ รัฐบาลในฐานะผู้รับสนองพระราชภาระของพระมหากษัตริย์ จึงเข้าไปมีส่วนร่วม ในการดำเนินงานกิจการทางศาสนา ตามประวัติและพัฒนาการโดยลำดับ ดังนี้

- สมัยกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา มีราชบัณฑิต และ หมื่นราชสังฆการี รับมอบหมายภารกิจด้านการศาสนา
- ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีหน่วยงานรับผิดชอบ 3 หน่วยงานคือ กรมธรรมการ กรมสังฆการี และกรมราชบัณฑิต

     

  • ในทางสุจริต โดยให้พระภิกษุสงฆ์เป็นผู้สั่งสอนอบรม (พ.ศ. 2442 กระทรวงมหาดไทย ได้โอนหน้าที่การอุดหนุนการศึกษา ให้กระทรวงธรรมการตามเดิม)
  • พ.ศ. 2445 ประกาศใช้ “ พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 ซึ่งมีบัญญัติให้พระสงฆ์ทุกระดับ มีหน้าที่บำรุงการศึกษาในวัดอีกด้วย 
  • พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้มีการปรับปรุงตำแหน่งหน้าที่ ในกระทรวงธรรมการ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยมีกองบัญชาการและแบ่งกรมใหญ่มีหัวหน้าเป็นอธิบดี 2 กรม คือ กรมธรรมการ และ กรมศึกษาธิการ และใน 2 กรมดังกล่าว ก็มีกรมเล็ก ๆ ซึ่งหัวหน้ามีตำแหน่งเป็นเจ้ากรมอยู่ในสังกัด คือ กรมสังฆการี กรมพระอาราม กองอธิกรณ์ ขึ้นอยู่กับกรมธรรมการ ส่วนกรมราชบัณฑิต กรมวิสามัญศึกษา กรมสามัญศึกษา ขึ้นกับกรมศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2462 ได้มีการเปลี่ยนชื่อ กระทรวงธรรมการ เป็น กระทรวงศึกษาธิการ และโปรดให้ย้ายกรมธรรมการ ไปรวมอยู่ในพระราชสำนักตามประเพณีเดิม ซึ่งรวมกรมสังฆการีอยู่ด้วยกันไปสังกัดอยู่ในกระทรวงธรรมการ ทั้งนี้ “โดยที่ทรงพระราชดำริว่า การศึกษาไม่ควรจะแยกจากวัด”
  • พ.ศ. 2469 เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงธรรมการ อีกครั้งหนึ่ง และย้ายกรมธรรมการ ซึ่งรวมกรมสังฆการีอยู่ด้วยกัน ไปสังกัดอยู่ในกระทรวงธรรมการ ทั้งนี้ “โดยที่ทรงพระราชดำริว่า การศึกษาไม่ควรจะแยกจากวัด”
  • พ.ศ. 2474 มีการเปลี่ยนแปลงราชการในกระทรวงธรรมการและกรมสังฆการีเข้าด้วยเช่นเดิม กรมธรรมการยังคงสังกัดอยู่ในกระทรวงธรรมการเรื่อยมา แม้ภายหลังสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง
  • พ.ศ. 2484 ได้มีประกาศพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เปลี่ยนชื่อ กระทรวงธรรมการ เป็น กระทรวงศึกษาธิการ และเปลี่ยนชื่อ กรมธรรมการ เป็น กรมการศาสนา
  • พ.ศ. 2545 ในวันที่ 3 ตุลาคม 2545 ได้มีการแบ่งส่วนราชการกรมการศาสนาเดิม ออกเป็น 2 หน่วยงาน คือ กรมการศาสนา สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ดังปรากฎอยู่ทุกวันนี้

 

 ดวงตราสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 

 

 คำอธิบาย 

ตรานี้ใช้ธรรมจักรบนฐานดอกบัว เรียกว่า "ไตรรัตนจักร" (กงล้อ คือ พระรัตนตรัย) เป็นสัญลักษณ์แทนพระรัตนตรัย คือ

(1) ดอกบัวแทนพระพุทธเจ้า ดังพระบาลีในเถรคาถาว่า "พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นในโลก แต่ไม่ติดในโลกีวิสัย ดุจดอกบัวเกิดในน้ำแต่ไม่เปียกน้ำ (ขุ.เถร. 26/388)

(2) ดอกบัวแทนพระอริยสงฆ์ ดังพุทธวจนะในธรรมบทว่า "ดอกบัวเกิดที่กองขยะที่เขาทิ้งไว้ข้างทางใหญ่ มีกลิ่นหอมรื่นรมย์ใจฉันใด ท่ามกลางมหาชนผู้โง่เขลา เป็นดุจสิ่งปฏิกูลพระสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมรุ่งโรจน์ด้วยปัญญาฉันนั้น" (ขุ.ธ. 25-59)

(3) ดอกบัวมี 7 กลีบ เป็นสัญลักษณ์แทนดอกบัว 7 ดอก ที่เกิดขึ้นรองรับพระบาทของเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อคราวประสูติ หรือสัญลักษณ์แทนโพชฌงค์ 7

(4) ธรรมจักร เป็นสัญลักษณ์แทนพระธรรม คือ อริยสัจสี่ อันเป็นแก่นของพระพุทธศาสนา ที่ทรงแสดงในวันเพ็ญเดือน 8 วันที่พระรัตนตรัยครบสมบูรณ์

(5) ซี่ธรรมจักร 12 ซี่ เป็นสัญลักษณ์แทนการรู้แจ้งอริยสัจแต่ละข้อด้วยญาณ ทั้ง 3 (สัจจญาณ, กิจจญาณ, และกตญาณ) (3x4 = 12)

(6) พระบาลีในธัมมจักรกัปปวัตตนสูตรว่า ธมฺมจกฺกํ ปวตฺติตํ อปฺปฏิวตฺติยํ = กงล้อคือพระธรรม อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงหมุนไปแล้ว ไม่มีใครหมุนกลับได้

ศ. พิเศษเสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต
29 ตุลาคม 2545

Download Logo AI  ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ


 
 
 
 

Website Policy | Privacy Policy | Security Policy | Disclaimer | ข้อกำหนดการใช้ Cookies รองรับการทำงานบน Internet Explorer v.11+, Microsoft Edge, Firefox v.47.0+, Chrome v.51+

จำนวนการเข้าชม : 30,288,384